บทความ
รับผลิต ออกแบบ จำหน่าย ถังขยะ ถังขยะใส ถังขยะพลาสติก ถังขยะพลาสติก ถังขยะมีโครงสร้างเบาและแข็งแรงมือจับบนฝา ใช้งานสะดวก โดยมีหมุด 4 หมุดป้องกันการหลุดแยกออกจากกันของฝาถังและตัวถังซึ่งมีความสะดวกในการเคลื่อนย้ายและสามารถใช้ักับรถเก็บขยะตามมาตรฐานได้ดีและสะดวก ผลิตโดยระบบฉีดมาจากวัสดุดิบ HDPE (High Density Polythlene) ซึ่งสามารถทนความร้อนรังสีอัลตร้าไวโอเลท และสารเคมีได้สูง
คุณสมบัติของถังขยะ
(1) ผลิตโดยระบบฉีด (Injection) จากวัตถุดิบ HDPE (High Density Polythlene) ซึ่งมีความแข็งแรง ทนทานสามารถทนความร้อนได้ไม่น้อยกว่า 40 องศาเซลเซียส และทนสารเคมีได้สูง พอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE) มีความหนาแน่นอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0.95 ถึง 0.97 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร โมเลกุลของ HDPE จะมีแบ็กโบนคาร์บอนที่ยาวมากแต่ไม่มีไซด์กรุ๊ป ผลก็คือ โมเลกุลเหล่านี้เชื่อมกันอย่างแน่นหนามากขึ้น HDPE แข็งแรงกว่า แข็งกว่า และโปร่งแสงน้อยกว่าพอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ HDPE ใช้ทำถุง ถังน้ำมันรถ หีบห่อและท่อน้ำ
(2) สามารถทำความสะอาดและดูแลรักษาง่ายจากผิวเรียบมัน ฝาถังขยะมีที่จับสามารถปิดเปิดได้สะดวก
(3) เคลื่อนย้ายสะดวกด้วยล้อเลื่อนแกนเป็นเหล็กเหนียวชุบแข็งพร้อมสลักล๊อกภายในตัวล้อ
(4) บานพับ 1 ช่องทิ้งและ 2 ช่องทิ้ง ถูกออกแบบการล็อกได้ดีกับฝาถังขยะ ง่ายต่อการปิดเปิด
ประเภทของถังขยะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ซึ่งการผลิตถังขยะก็ได้แยกเป็นสีต่างๆ เพื่อรองรับขยะต่างชนิดกัน
(1) ถังขยะสีเขียว สำหรับใส่ขยะย่อยสลาย หรือ มูลฝอยย่อยสลาย คือ ขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำมา หมักปุ๋ยได้ เช่น เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ เศษเนื้อสัตว์ เป็นต้น แต่ไม่รวมถึงซากหรือเศษของพืช ผัก ผลไม้ หรือสัตว์ที่เกิดจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ เป็นต้น
(2) ถังขยะสีเหลือง สำหรับใส่ขยะรีไซเคิล หรือ มูลฝอยที่ยังใช้ได้ คือ ของเสียบรรจุภัณฑ์ หรือวัสดุเหลือใช้ ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น แก้ว กระดาษ กระป๋อง เครื่องดื่ม เศษพลาสติก เศษโลหะ อลูมิเนียม ยางรถยนต์ กล่องเครื่องดื่ม แบบ UHT เป็นต้น
(3) ถังขยะสีน้ำเงิน สำหรับใส่ขยะทั่วไป หรือ มูลฝอยทั่วไป คือ ขยะประเภทอื่นนอกเหนือจากขยะย่อยสลาย ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย มีลีกษณะที่ย่อยสลายยาก และไม่คุ้มค่าสำหรับการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น ห่อพลาสติกใส่ขนม ถุงพลาสติกบรรจุผงซักฟอก พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถุงพลาสติก เปื้อนเศษอาหาร โฟมเปื้อนอาหาร ฟอยล์เปื้อนอาหาร ซองหรือถุงพลาสติกสำหรับบรรจุเครื่องอุปโภคด้วยวิธีรีดความร้อน เป็นต้น
(4) ถังขยะสีแดง สำหรับใส่ขยะอันตราย หรือ มูลฝอยอันตราย คือ มูลฝอยที่ปนเปื้อน หรือมีองค์ประกอบของวัตถุดังต่อไปนี้
- วัตถุระเบิดได้, วัตถุไวไฟ
- วัตถุออกไซต์และวัตถุเปอร์ออกไซต์
- วัตถุมีพิษ, วัตถุกัมมันตรังสี
- วัตถุที่ทำให้เกิดโรค, วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
- วัตถุกัดกร่อน, วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
- วัตถุอย่างอื่นที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรืออาจทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืชหรือทรัพย์ เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ถ่ายไฟฉายหรือแบตเตอรี่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ภาชนะที่ใช้บรรจุสารกำจัดแมลงหรือวัชพืช กระป๋องสเปรย์บรรจุสีหรือสารเคมี เป็นต้น
ข้อดีของการแยกประเภทขยะ
เราคงจะทราบกันไปแล้วว่าถังขยะนั้นมีกี่ประเภท ทีนี้เรามาดูกันว่าแล้วการแยกประเภทของของขยะนั้นมีข้อดีอย่างไร ยกตัวอย่างประเทศสุดฮิตที่บ้านเราชอบไปกันก่อนคือที่ญี่ปุ่น เคยสังเกตหรือสงสัยกันบ้างไหมว่าทำไมคนที่นั่นเขามีการแยกประเภทขยะกันอย่างจริงจัง บางเมืองแยกขยะกันถึง 16 ประเภททีเดียว และยังมีคู่มือพิเศษสำหรับนักแยกขยะให้อีกต่างหาก ทำไมเขาถึงไม่ใส่ทุกอย่างไว้ในถังเดียว (บ้านเราส่วนใหญ่ถังเดียวเอาอยู่) ซึ่งคนที่นั่นเขาทำกันจนเป็นกิจวัตรประจำวันไปแล้ว ทีนี้ข้อดีนอกจากจะเป็นระเบียบแล้ว เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
1. ลดปริมาณขยะลง - เพราะแยกแล้วก็ยังคงมีปริมาณเท่าเดิม ลองแยกเป็นประเภทขยะที่ยังมีประโยชน์หรือนำกลับไป Recycle ได้ออกมา เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ ฯลฯ ต่างๆ จำพวกนี้เราอาจจะนำไปขายต่อก็ได้ ซึ่งจะทำให้ปริมาณขยะที่เหลือจริงๆนั้นลดลงพอสมควรและยังมีรายได้เพิ่มขึ้นมาอีก
2. ประหยัดงบประมาณของภาครัฐ - ถือเป็นการช่วยสังคมในทางหนึ่ง เพราะหากลดปริมาณขยะที่ต้องกำจัดลงแล้วนั้น นั่นก็แปลว่างบประมาณที่ทางจังหวัดต้องใช้กำจัดขยะนั้นลดลงไปด้วย ลองวาดภาพคร่าวๆก่อน ยกตัวอย่างเช่น ในแต่ละวันนั้น กทม. ต้องกำจัดขยะถึงวันละ 9,000 ตัน ใช้งบประมาณถึง 2,000 ล้านบาทต่อปี ใช้รถเก็บขยะกว่า 2,000 คัน เจ้าหน้าที่เก็บขยะอีก 10,000 คน ถังขยะนับหมื่นใบ เรือขนขยะอีกไม่รู้กี่สิบลำ หากเราช่วยกันลดปริมาณขยะลงแล้ว งบประมาณตรงนี้นั้นสามารถนำกลับไปพัฒนาประเทศได้ไม่มากก็น้อย
3. เพิ่มความปลอดภัย - ทุกวันนี้มีขยะที่เป็นสารพิษอันตรายมากมาย เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย ยาฆ่าแมลง กระป๋องสีเสปรย์ ฯลฯ หากเราไม่มีการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีนั้นแล้วนั้นหากมีข้อผิดพลาดขึ้นมาอาจจะเกิดอันตรายได้ อาจจะไม่ได้เกิดกับตัวเรา แต่เราก็คงไม่อยากให้เกิดกับใครทั้งนั้น
ถังขยะติดล้อ
1. หากเป็นไปได้ให้วางถังขยะห่างกัน อย่างน้อย 50 ซม. และให้อยู่ห่างจาก สิ่งกีดขวางต่างๆ
2. วางถังขยะอยู่บนฟุตบาตหรือข้างบนขอบถนนที่เป็นหญ้าใกล้กับบริเวณที่รถจัดเก็บขยะจะผ่านมาหันด้านที่มีป้ายบอกชนิดของถังขยะสู่ถนน
3. ฝาปิดถังขยะต้องปิดได้สนิทเพื่อจะได้มีการจัดเก็บ ส่วนขยะส่วนเกินที่วางอยู่ข้างถังขยะหรือที่วางอยู่บนฝาถังขยะ จะไม่มีการจัดเก็บ
ประโยชน์ของถังขยะ
1. ปกป้องเชื้อโรค อันเกิดจากสิ่งปฏิกูลที่สะสมอยู่ภายในถัง
2. ปกปิดกลิ่น ไรฝุ่น ที่อยู่ภายในถัง
3. ช่วยกำจัดขยะได้ง่ายขึ้น
4. ตกแต่งสถานที่ให้สวยงาม ได้สัดส่วนภายใต้ความสะอาด ปราศจากเชื้อโรค
5. สร้างอุปนิสัยของประชากรในพื้นที่นั้นๆ ให้เป็นผู้รักความสะอาด ทิ้งขยะให้เป็นที่
คุณสมบัติของถังขยะ
(1) ผลิตโดยระบบฉีด (Injection) จากวัตถุดิบ HDPE (High Density Polythlene) ซึ่งมีความแข็งแรง ทนทานสามารถทนความร้อนได้ไม่น้อยกว่า 40 องศาเซลเซียส และทนสารเคมีได้สูง พอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE) มีความหนาแน่นอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0.95 ถึง 0.97 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร โมเลกุลของ HDPE จะมีแบ็กโบนคาร์บอนที่ยาวมากแต่ไม่มีไซด์กรุ๊ป ผลก็คือ โมเลกุลเหล่านี้เชื่อมกันอย่างแน่นหนามากขึ้น HDPE แข็งแรงกว่า แข็งกว่า และโปร่งแสงน้อยกว่าพอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ HDPE ใช้ทำถุง ถังน้ำมันรถ หีบห่อและท่อน้ำ
(2) สามารถทำความสะอาดและดูแลรักษาง่ายจากผิวเรียบมัน ฝาถังขยะมีที่จับสามารถปิดเปิดได้สะดวก
(3) เคลื่อนย้ายสะดวกด้วยล้อเลื่อนแกนเป็นเหล็กเหนียวชุบแข็งพร้อมสลักล๊อกภายในตัวล้อ
(4) บานพับ 1 ช่องทิ้งและ 2 ช่องทิ้ง ถูกออกแบบการล็อกได้ดีกับฝาถังขยะ ง่ายต่อการปิดเปิด
ประเภทของถังขยะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ซึ่งการผลิตถังขยะก็ได้แยกเป็นสีต่างๆ เพื่อรองรับขยะต่างชนิดกัน
(1) ถังขยะสีเขียว สำหรับใส่ขยะย่อยสลาย หรือ มูลฝอยย่อยสลาย คือ ขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำมา หมักปุ๋ยได้ เช่น เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ เศษเนื้อสัตว์ เป็นต้น แต่ไม่รวมถึงซากหรือเศษของพืช ผัก ผลไม้ หรือสัตว์ที่เกิดจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ เป็นต้น
(2) ถังขยะสีเหลือง สำหรับใส่ขยะรีไซเคิล หรือ มูลฝอยที่ยังใช้ได้ คือ ของเสียบรรจุภัณฑ์ หรือวัสดุเหลือใช้ ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น แก้ว กระดาษ กระป๋อง เครื่องดื่ม เศษพลาสติก เศษโลหะ อลูมิเนียม ยางรถยนต์ กล่องเครื่องดื่ม แบบ UHT เป็นต้น
(3) ถังขยะสีน้ำเงิน สำหรับใส่ขยะทั่วไป หรือ มูลฝอยทั่วไป คือ ขยะประเภทอื่นนอกเหนือจากขยะย่อยสลาย ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย มีลีกษณะที่ย่อยสลายยาก และไม่คุ้มค่าสำหรับการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น ห่อพลาสติกใส่ขนม ถุงพลาสติกบรรจุผงซักฟอก พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถุงพลาสติก เปื้อนเศษอาหาร โฟมเปื้อนอาหาร ฟอยล์เปื้อนอาหาร ซองหรือถุงพลาสติกสำหรับบรรจุเครื่องอุปโภคด้วยวิธีรีดความร้อน เป็นต้น
(4) ถังขยะสีแดง สำหรับใส่ขยะอันตราย หรือ มูลฝอยอันตราย คือ มูลฝอยที่ปนเปื้อน หรือมีองค์ประกอบของวัตถุดังต่อไปนี้
- วัตถุระเบิดได้, วัตถุไวไฟ
- วัตถุออกไซต์และวัตถุเปอร์ออกไซต์
- วัตถุมีพิษ, วัตถุกัมมันตรังสี
- วัตถุที่ทำให้เกิดโรค, วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
- วัตถุกัดกร่อน, วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
- วัตถุอย่างอื่นที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรืออาจทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืชหรือทรัพย์ เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ถ่ายไฟฉายหรือแบตเตอรี่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ภาชนะที่ใช้บรรจุสารกำจัดแมลงหรือวัชพืช กระป๋องสเปรย์บรรจุสีหรือสารเคมี เป็นต้น
ข้อดีของการแยกประเภทขยะ
เราคงจะทราบกันไปแล้วว่าถังขยะนั้นมีกี่ประเภท ทีนี้เรามาดูกันว่าแล้วการแยกประเภทของของขยะนั้นมีข้อดีอย่างไร ยกตัวอย่างประเทศสุดฮิตที่บ้านเราชอบไปกันก่อนคือที่ญี่ปุ่น เคยสังเกตหรือสงสัยกันบ้างไหมว่าทำไมคนที่นั่นเขามีการแยกประเภทขยะกันอย่างจริงจัง บางเมืองแยกขยะกันถึง 16 ประเภททีเดียว และยังมีคู่มือพิเศษสำหรับนักแยกขยะให้อีกต่างหาก ทำไมเขาถึงไม่ใส่ทุกอย่างไว้ในถังเดียว (บ้านเราส่วนใหญ่ถังเดียวเอาอยู่) ซึ่งคนที่นั่นเขาทำกันจนเป็นกิจวัตรประจำวันไปแล้ว ทีนี้ข้อดีนอกจากจะเป็นระเบียบแล้ว เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
1. ลดปริมาณขยะลง - เพราะแยกแล้วก็ยังคงมีปริมาณเท่าเดิม ลองแยกเป็นประเภทขยะที่ยังมีประโยชน์หรือนำกลับไป Recycle ได้ออกมา เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ ฯลฯ ต่างๆ จำพวกนี้เราอาจจะนำไปขายต่อก็ได้ ซึ่งจะทำให้ปริมาณขยะที่เหลือจริงๆนั้นลดลงพอสมควรและยังมีรายได้เพิ่มขึ้นมาอีก
2. ประหยัดงบประมาณของภาครัฐ - ถือเป็นการช่วยสังคมในทางหนึ่ง เพราะหากลดปริมาณขยะที่ต้องกำจัดลงแล้วนั้น นั่นก็แปลว่างบประมาณที่ทางจังหวัดต้องใช้กำจัดขยะนั้นลดลงไปด้วย ลองวาดภาพคร่าวๆก่อน ยกตัวอย่างเช่น ในแต่ละวันนั้น กทม. ต้องกำจัดขยะถึงวันละ 9,000 ตัน ใช้งบประมาณถึง 2,000 ล้านบาทต่อปี ใช้รถเก็บขยะกว่า 2,000 คัน เจ้าหน้าที่เก็บขยะอีก 10,000 คน ถังขยะนับหมื่นใบ เรือขนขยะอีกไม่รู้กี่สิบลำ หากเราช่วยกันลดปริมาณขยะลงแล้ว งบประมาณตรงนี้นั้นสามารถนำกลับไปพัฒนาประเทศได้ไม่มากก็น้อย
3. เพิ่มความปลอดภัย - ทุกวันนี้มีขยะที่เป็นสารพิษอันตรายมากมาย เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย ยาฆ่าแมลง กระป๋องสีเสปรย์ ฯลฯ หากเราไม่มีการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีนั้นแล้วนั้นหากมีข้อผิดพลาดขึ้นมาอาจจะเกิดอันตรายได้ อาจจะไม่ได้เกิดกับตัวเรา แต่เราก็คงไม่อยากให้เกิดกับใครทั้งนั้น
ถังขยะติดล้อ
1. หากเป็นไปได้ให้วางถังขยะห่างกัน อย่างน้อย 50 ซม. และให้อยู่ห่างจาก สิ่งกีดขวางต่างๆ
2. วางถังขยะอยู่บนฟุตบาตหรือข้างบนขอบถนนที่เป็นหญ้าใกล้กับบริเวณที่รถจัดเก็บขยะจะผ่านมาหันด้านที่มีป้ายบอกชนิดของถังขยะสู่ถนน
3. ฝาปิดถังขยะต้องปิดได้สนิทเพื่อจะได้มีการจัดเก็บ ส่วนขยะส่วนเกินที่วางอยู่ข้างถังขยะหรือที่วางอยู่บนฝาถังขยะ จะไม่มีการจัดเก็บ
ประโยชน์ของถังขยะ
1. ปกป้องเชื้อโรค อันเกิดจากสิ่งปฏิกูลที่สะสมอยู่ภายในถัง
2. ปกปิดกลิ่น ไรฝุ่น ที่อยู่ภายในถัง
3. ช่วยกำจัดขยะได้ง่ายขึ้น
4. ตกแต่งสถานที่ให้สวยงาม ได้สัดส่วนภายใต้ความสะอาด ปราศจากเชื้อโรค
5. สร้างอุปนิสัยของประชากรในพื้นที่นั้นๆ ให้เป็นผู้รักความสะอาด ทิ้งขยะให้เป็นที่